BEETLE (KAFER)
ผลิต 1 AUG 1957 - 30 JUL 1959
Chassis
ของปี 58 เลขตั้งแต่ 1-600 440 ถึง 2-007 615
ของปี 59 เลขตั้งแต่ 2-007 616 ถึง 2 528 667

ปี 58 - 59 จะมีความเหมือนกันมาก เรียกว่าเป็นคู่ปีเดียวที่แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย อาจเป็นเพราะปีนั้น โฟล์คสวาเก้นได้ขยายโรงงานจาก Wolfburg ไป Hanover ก็เป็นไปได้


ปี 58 นี้จะเป็นปีแรกที่ใช้ไฟถั่ว (สำหรับสเปกอเมริกา) คือมันจะเป็นไฟเลี้ยวอันเล็ก ๆ ที่อยู่บนซุ้มล้อหน้า กันชนจะเป็นแบบรั้ว

**กันชนเล็ก ๆ ด้านหน้าเป็นชุดแต่ง ไม่ใช่ของเดิมที่มีมากับรถ**

 
ส่วนสเปคยุโรปยังคงเป็น ไฟกระดกอยู่ตรงเสาประตูอยู่ แต่ไฟกระดกเป็นของยี่ห้อ SWF ไม่ใช่ SH แบบของจอไข่ ในรูปไฟกระดกเดิม ๆ จะมีเหล็กพับยื่นออกมาจากตัวถัง

 

 
ถังน้ำมันจะเป็นแบบ 10 แกลลอน (ประมาณ 40 ลิตร) บ้านเราเรียกหลังอูฐ ฝาถังแบบ 80 มิลลิเมตร มีตราโฟล์คอยู่ด้านบน ด้านในมีไม้ก๊อก ในรูปจะเป็นฝาจีบ (รูปกลาง) แบบกับแบบเรียบ (รูปล่าง)



ด้านหลังของแผงหน้าปัทม์แบบเดิม ๆ จะมีที่ปิดอยู่ด้วย 


ที่ค้ำฝากระโปรงด้านหน้าจะใช้เสาพับเป็นตัวค้ำ สามารถปิดโดยยกฝากระโปรงขึ้นเล็กน้อย กลไกจะพับโดยอัตโนมัติ

 
ด้านหลังที่เก็บยางอะหลั่ยจะเหมือนกับของจอไข่ทุกอย่าง กระปุกเก็บน้ำมันเบรค (the metal hydraulic brake reservoir) ก็อยู่ที่เดียวกัน ในปีนี้จะมีชุดแต่ง Hazel tool box กล่องเครื่องมือนี้จะติดอยู่ด้านหน้าตรงยางอะหลั่ย
สังเกตุว่า ป้าย Made in West Germany จะหายไป และจำนวนสันที่นูนขึ้นมา ก็เพิ่มมาอีก 1 สัน รวมเป็น 3 สัน ...ต่างกับของปี 57 ที่มีเพียงแค่ 2 สัน


 
ด้านหน้าจะมีรอยปั้มนูน รอยปั้มด้านหน้าแบบนี้จะใช้จนถึงปี 60 แล้วก็เปลี่ยนเป็นแบบเรียบในปี 61 ส่วนด้านหลังก็จะมีรอยปั้มเหมือนกัน เรียกว่า H pattern



 
   

BEETLE (KAFER)
ผลิต 1 AUG 1957 - 30 JUL 1959
Chassis
ของปี 58 เลขตั้งแต่ 1-600 440 ถึง 2-007 615
ของปี 59 เลขตั้งแต่ 2-007 616 ถึง 2 528 667

ปี 58 - 59 จะมีความเหมือนกันมาก เรียกว่าเป็นคู่ปีเดียวที่แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย อาจเป็นเพราะปีนั้น โฟล์คสวาเก้นได้ขยายโรงงานจาก Wolfburg ไป Hanover ก็เป็นไปได้

ปี 58 นี้จะเป็นปีแรกที่ใช้ไฟถั่ว (สำหรับสเปกอเมริกา) คือมันจะเป็นไฟเลี้ยวอันเล็ก ๆ ที่อยู่บนซุ้มล้อหน้า กันชนจะเป็นแบบรั้ว

**กันชนเล็ก ๆ ด้านหน้าเป็นชุดแต่ง ไม่ใช่ของเดิมที่มีมากับรถ

 

ส่วน สเปคยุโรปยังคงเป็น ไฟกระดกอยู่ตรงเสาประตูอยู่ แต่ไฟกระดกเป็นของยี่ห้อ SWF ไม่ใช่ SH แบบของจอไข่ ในรูปไฟกระดกเดิม ๆ จะมีเหล็กพับยื่นออกมาจากตัวถัง

 



ถัง น้ำมันจะเป็นแบบ 10 แกลลอน (ประมาณ 40 ลิตร) บ้านเราเรียกหลังอูฐ ฝาถังแบบ 80 มิลลิเมตร มีตราโฟล์คอยู่ด้านบน ด้านในมีไม้ก๊อก ในรูปจะเป็นฝาจีบ (รูปกลาง) แบบกับแบบเรียบ (รูปล่าง)

 

ด้านหลังของแผงหน้าปัทม์แบบเดิม ๆ จะมีที่ปิดอยู่ด้วย

 

ที่ค้ำฝากระโปรงด้านหน้าจะใช้เสาพับเป็นตัวค้ำ สามารถปิดโดยยกฝากระโปรงขึ้นเล็กน้อย กลไกจะพับโดยอัตโนมัติ

 


ด้าน หลังที่เก็บยางอะหลั่ยจะเหมือนกับของจอไข่ทุกอย่าง กระปุกเก็บน้ำมันเบรค (the metal hydraulic brake reservoir) ก็อยู่ที่เดียวกัน ในปีนี้จะมีชุดแต่ง Hazel tool box กล่องเครื่องมือนี้จะติดอยู่ด้านหน้าตรงยางอะหลั่ย
สังเกตุว่า ป้าย Made in West Germany จะหายไป และจำนวนสันที่นูนขึ้นมา ก็เพิ่มมาอีก 1 สัน รวมเป็น 3 สัน ...ต่างกับของปี 57 ที่มีเพียงแค่ 2 สัน

 


ด้าน หน้าจะมีรอยปั้มนูน รอยปั้มด้านหน้าแบบนี้จะใช้จนถึงปี 60 แล้วก็เปลี่ยนเป็นแบบเรียบในปี 61 ส่วนด้านหลังก็จะมีรอยปั้มเหมือนกัน เรียกว่า H pattern

 

เบ้า ไฟหน้าจะใช้เลนส์แบบนี้เป็นปีแรก ซึ่งเป็นเลนส์แบบมีลาย (สำหรับสเปคยุโรป) แต่ถ้าเป็นเต่าที่ส่งไปขายในอเมริกา จะเป็นแบบเลนส์ใส และด้านในจะเป็น Seal beam



 
ที่ดึงประตูจะเป็นปีสุดท้ายที่เป็นแบบง้างออก (และเป็นรุ่นที่ 2 ของมือง้าง คือด้านหลังมือง้างจะเป็นแบบเส้นมาชนกันจนเป็นมุม ไม่ใช่แบบตรงเหมือนของปี 54)



 
ที่ปัดน้ำฝนจะเริ่มใช้แบบนี้เป็นปีแรก เนื่องจากกระจกด้านหน้ามีขนาดใหญ่ขึ้น 




dashboard กระจกมองหลัง เป็นรุ่นที่ 3 หลังจาก glove box ของจอแบ่ง และ radio grill ของจอไข่ ซึ่ง dashboard แบบนี้จะใช้เรื่อยมาจนปี 66 ที่จะมีการเพิ่มช่องลมขึ้นมาตรงกลาง และพวงมาลัยเป็นปีสุดท้ายที่ใช้แบบเดียวกันกับของจอไข่ ต่อมาจะใช้แบบกระเช้า ที่จับด้านหน้าใช้สำหรับปีนี้เป็นปีแรก ** ซึ่งยังเป็นอุปกรณ์เสริมอยู่ **




ที่พิเศษมาก ๆ ของปีนี้คือ แผงข้างครับ การหุ้มแผงข้างจะมีใช้แบบนี้อยู่ปีเดียวคือ 58-59 จากนั้นก็จะเปลี่ยนไป สังเกตุที่พักแขนก็เป็นแบบเดียวกันกับของจอไข่ ซึ่งจะมีเฉพาะด้านคนนั่งเท่านั้น และด้านคนขับจะมีกระเป๋ามาแทน

รูป ที่ 3 กับรูปที่ 4 จะเป็นแผงหลังของดั้งเดิม ซึ่งจะเป็นพลาสติกปั๊มขึ้นรูป ไม่ใช่แบบหนังเทียมที่เอามารีดกับแผงแบบที่ทำกันอยู่นี้ สังเกตุลายจะเป็นลักษณะเฉพาะของปี 58-59 เท่านั้น 



 
ตรงประตูจะมี "กันเลย" และสวิชต์ปิดเปิดอยู่ใต้กันเลย ซึ่งจะใช้จนถึงปี 60 พอปี 61 ก็จะเปลี่ยนเป็นแบบใหม่ สวิตช์ปิด-เปิดไฟในเก๋งของปี 58 - 59 จะเป็นแบบกลม ซึ่งจะฝังเรียบสนิทกับเสาประตูพอดี (เสาประตูจะเป็นร่องวงกลมอยู่แล้ว)

ยางสำหรับปิดที่ไขน๊อตประตู จะเป็นยางสีดำ มีรอยนูนตรงกลาง ไม่ใช่เป็นแบบใสที่มีขายในร้านอะไหล่ปัจจุบัน

 



คันเร่งก็เป็นปีแรกที่เปลี่ยนจากระบบลูกกลิ้ง เป็นแบบแผ่น ที่เห็นข้างครัชคือ สวิตช์ปรับไฟสูง - ต่ำ 




ด้านหลังจะมีที่รับน้ำที่มาจากช่องลมด้านหลัง ในปีนี้จะใช้แบบมีร่องเป็นครั้งแรก ซึ่งก่อนหน้านั้นไม่มี 




ที่เขี่ยบุหรี่ด้านหลังจะเหมือนของจอไข่ฮะ




โลโก้ด้านหน้าฝากระโปรงปี 58 - 59 จะเป็นหมาแดงยืนบนกำแพงขาว โลโก้แบบนี้มีชื่อที่เข้าใจกันง่ายว่า "โลโก้หมาแดงแบบสี" โลโก้นี้จะใช้ต่อมาจากปี 57 และปี 58 - 59 จะเป็นปีสุดท้ายที่ใช้โลโก้นี้ ต่อนั้นโลโก้จะเปลี่ยนเป็นแบบขาวดำ ในปี 60




ที่แขวนเสื้อปี 58 - 59 จะใช้อลูมิเนียมหล่อ มีน๊อตยึด 2 ข้างตามรูป เหมือนแบบปีก่อน (ปี 57) ซึ่งจะใช้แบบนี้ไปจนถึงปี 1961 ต่อมาปี 62 จะเปลี่ยนเป็นแบบยาง




กลอนเสาประตูจะใช้ต่อมาจากปี 57 สมัยนี้สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายอะไหล่ แต่จะทำมาจากประเทศ Brazil




ที่เปิดหูช้างด้านหลังก็จะใช้แบบเดิม ... หูช้างหลังแบบเปิดได้จะเป็นอุปกรณ์เสริม ซึ่งในบ้านเราที่เป็นประเทศเขตร้อน ส่วนใหญ่จะมีติดรถมา




ที่ปรับเอนของเบาะคนนั้งหน้าในปี 58 - 59 นี้ จะเหมือนของปี 56 - 57
ธรณีประตูที่ถูกต้องควรสอบเข้าจากด้านหน้า 




ตัวล๊อคฝากระโปรงหน้าไม่มีเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน ๆ สังเกตุว่า เดิม ๆ จะมีที่ปิดสายสลิงด้านหน้าสุด ซึ่งส่วนใหญ่จะหายไป 




ในที่เก็บของด้านหน้า จะมีท่อร้อยสายวัดความเร็วอยู่ ปลายของท่อนี้จะไปลงที่ซุ้มล้อด้านใน




ยางอะไหล่เดิม ๆ ติดมากับรถจะมีซีรี่ย์ 155/15 ส่วนกะทะล้ออะไล่ จะเล็กกว่ากะทะที่ใช้วิ่งปกติ ซึ่งจะมีหน้ากว้างเพียง 4.5 นิ้ว และกะทะอะไล่ทุกวง จะปั๊มปีติดอยู่ด้านหน้าเสมอ หมายความว่า กะทะล้อสำรองรถเต่าปี 1959 ก็จะปั๊มตัวเลข 59 ลงไปในกะทะนั้น ๆ ด้วย




แผงฟิวส์แบบ 4 ตัว จะอยู่ด้านหน้าใกล้ ๆ กับถังน้ำมัน แผงฟิวส์แบบนี้ใช้สำหรับปี 52 - 60 เท่านั้น




ช่องลมด้านหน้าจะเป็นแบบวงรี ในด้านซ้ายจะเป็นช่องสำหรับแตรถ้ามองลอดเข้าไปจะเจอแตรพอดี ซึ่งในช่องขวาจะมีแผ่นพลาสติกสีดำปิดอยู่ (ใช้ตัดจากแฟ๊มหนังตราช้างก็ได้ฮะ เนื้อใกล้เคียงกัน




ที่บังแดด ปี 58 - 59 นี้ จะเป็นเอกลักษณ์มาก ซึ่งจะไม่เหมือนของจอไข่ (1957) ตรงที่ด้านปลายจะเรียวยาว บังแดดแบบนี้สามารถมองทะลุได้ ไม่เหมือนของรีโปร ที่จะทึบแสง

กระจกมองหลังของปีนี้ ก็จะเป็นลักษณะเฉพาะเหมือนกัน คือมีสันอยู่ตรงกลาง (เป็นปีแรกที่มีช่องเสียบขาของที่บังแดด)

 



ไฟท้ายแบบทับทิมที่สามารถสะท้อนแสงได้ทำให้รถที่ส่องไฟมาด้านหลังรู้ว่ามีรถอยู่ด้านหน้า




           กระจก หลังเป็นปีแรกของกระจก size middle wide รุ่นแรกก็คือจอแบ่ง รุ่นที่ 2 คือจอไข่ และนี่ก็เป็นรุ่นที่ 3 ที่มีขอบเป็นเหลี่ยมมากขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนอีกครั้งตอนปี 65 เป็นรุ่นที่ 4 ที่มีความกว้างของกระจกเพิ่มขึ้น กระจกหน้าก็เป็นปีแรกที่ใช้กระจกแบบ middle wide เช่นกัน รุ่นนี้จะมีความกว้างที่มากกว่าของจอไข่อยู่พอสมควร และจะเปลี่ยนเป็นแบบ wide ก็ตอนปี 65

           ในรูปที่ 3 เป็นด้านหลังของรถปี 58-61 สเปคยุโรป (สังเกตุกันชนหงอนเล็ก) ไฟท้ายเป็นแบบทับทิม ไฟท้ายแบบนี้จะใช้ไปจนปี 61 ส่วนฝาท้ายตามรูปเริ่มใช้ปี 58-59 เป็นปีแรกก่อนหน้านั้นเป็นฝาท้ายW (สำหรับจอไข่) และไฟจมูกแม่มดแบบไม่มีสันก็เริ่มใช้ในปี 58-59 เป็นปีแรกเช่นกันฮะ (ของจอไข่ผมเรียกเอาเองว่าจมูกแม่มดแบบมีสัน) รูปล่างสุด จะเป็นปี 58 - 59 สเปคอเมริกา จะใช้กันชนรั้ว

ปล.
รูปล่างสุดจะเป็นฝาท้ายของรุ่นเปิดประทุน ซึ่งจะมีครีบระบายอากาศอยู่ 2 ด้าน

สรุปว่าถ้าเป็นกันชนรั้ว จะใช้ไฟถั่วด้านหน้า (บ้านเราเป็นแบบนี้ซะส่วนใหญ่) ส่วนถ้าเป็นกันชนหงอนเล็กแบบในรูป จะใช้ไฟเลี้ยวแบบกระดกครับ