Hebmuller Cabriolet (1949 – 1953)
Hebmuller คือรถเต่าสปอร์ตเปิดประทุนสองที่นั่งอันมีรูปโฉมที่งดงามจนเลื่องชื่อในยุค
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง "Radclyffe roadster" ถูกผลิตในยุคหลังสงครามเมื่อกองทัพอังกฤษ
เข้ามาปกครองเยอรมันในเขตที่โฟล์ค ตั้งอยู่ มีจุดเด่นอยู่ที่การออกแบบให้มีโฉมหน้ากับโฉมหลัง
เหมือนกันตามวิสัยทัศน์ของ Colonel Michael McEvoy นักแข่งรถทีม Mercedes ในยุคก่อนสงคราม
แต่ถูก Major Hirst ปฏิเสธไป แต่รถนี้ยังคงอยู่ในใจของ Rudolf Ringel
วิศวกรผู้พัฒนารถเต่าเปิดประทุน 4 ที่นั่งให้กับ Hirst โดยเล็งเห็นถึงความเป็นไปได้
หากจะใช้พื้นและผ้าหุ้มประทุนหลังคาร่วมกันกับ รุ่นเปิดประทุนสี่ที่นั่งแต่ดูโฉบเฉี่ยวกว่า
เพราะไร้กระจกข้างบานหลัง และใช้เครื่องยนต์คาร์บูคู่
ครอบครัว Hebmuller
สำนักตกแต่งรถ Hebmuller ก่อตั้งโดย Joseph Hebmuller เมื่อปี 1889 แล้วเปลี่ยนมาสู่รุ่นลูก
ในปี 1919 ก่อนที่จะหันมาดัดแปลงรถยนต์เปิดประทุนเมื่อรัฐบาลอังกฤษให้การสนับสนุน
ในปี 1948 ได้นำชิ้นส่วนจากโฟล์คไปพัฒนาเป็นรถเปิดประทุนสองที่นั่งในแบบฉบับของตน
ในขณะที่ Karmann รับผิดชอบการผลิตรุ่นสี่ที่นั่ง ภายใต้นโยบายที่ต้องการให้ใช้ชิ้นส่วน
ของรุ่นหลังคาแข็งให้มากที่สุดเพื่อ ความประหยัดค่าใช้จ่ายในการพัฒนา
และแล้วรถต้นแบบทั้งสามคันก็ถูกผลิตออกเพื่อการทดสอบ โดยรูปลักษณ์ภายนอก
ของรถต้นแบบนั้นมีฝากระโปรงหน้าและหลังที่ละม้ายกันมาก แต่ที่จริงนั้นต่างกันพอสมควร
โดยมีสันกลางลาดยาวลงมาเหมือนจมูกที่ปลายเป็นที่อยู่ของไฟส่องท้ายทะเบียน
หลังและมีคิ้วยาวใหญ่ประดับ ประทุนหลังคาเมื่อพับเก็บจะซ่อนลงในด้านหลัง
ได้พอดีมีผ้าคลุมเก็บไว้อย่าง มิดชิด เหนือฝาท้ายด้านบนมีช่องระบายลมให้กับ
เครื่องยนต์ 4 ช่องต่อข้าง ส่วนรถต้นแบบอีกสองคันมีห้าช่องระบายต่อข้าง
ข้อเสียของฝาท้ายในรถต้นแบบนี้คือมีน้ำหนักมากเกิน ใช้ไฟท้ายร่วมกับรุ่นหลังคาแข็ง
Radclyffe roadster
เพื่อที่จะเสริมความแข็งแรงให้กับตัวถัง Hebmuller จึงได้เสริมเหล็กรูปตัว Z
ไว้ที่หลังเบาะหน้า ที่ด้านท้าย และที่พื้น ใช้โครงเหล็กแข็งแรกพิเศษทำกรอบกระจก
ป้องกันกระจกแตกและผลจากวิ่งทดสอบถึง 10,000 กม. ก็ทำให้โฟล์คประทับใจ
เพราะรถต้นแบบยังอยู่ในสภาพดี จึงได้สั่งผลิต 2,000 คัน ในนามไทพ์ 14A
รหัสการผลิต 358 ในขณะที่เปิดประทุนรุ่นสี่ที่นั่งที่ผลิตโดย Karmann
นั้นใช้รหัส 320 จนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 1949 Hebmuller คันแรกก็ถูกผลิต
ออกมาสู่ตลาดเป็นสีทูโทนด้วยกำลังการผลิตเต็มอัตราศึก
จนกระทั่งบ่ายสองของวันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม 1949 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ห้องพ่นสี
เปลงเพลิงได้เผาผลาญโรงงานไปพอสมควร และก็ไม่เคยมีการเปิดเผยถึงสาเหตุของ
อัคคีภัยในครั้งนั้น จากนั้นอีก 4 สัปดาห์ก็สามารถเริ่มกลับมาผลิตได้อีกครั้ง
แต่ก็ไม่ได้รับความไว้วางใจจากโฟล์คนักเพราะส่งรถให้ไม่ทันกำหนด ในเดือนมกราคม 1950
ผลิตได้อีก 125 คัน ในเดือนกุมภาพันธ์ 100 คัน เดือนมีนาคม 77 คัน ในเดือนเมษายน 17 คัน
และได้การผลิตเป็นครั้งที่ 3 ในเดือนสิงหาคม 1951 จนในเดือนพฤษภาคม 1952 Hebmuller
ประกาศปิดกิจการเพราะล้มละลาย Karmann จึงได้นำชิ้นส่วนไปผลิตต่ออีก 12 คัน
และยุติไปในเดือนกุมภาพันธ์ 1953 ส่วนยอดการผลิตนั้นถ้าโฟล์คแจ้งไม่ผิดจะอยู่ที่ 696 คัน
แต่ถ้าเป็นข้อมูลจาก Hebmuller นั้นจะอยู่ที่ 750 คัน
มีการผลิตซ้ำอีกครั้งที่ดูคล้ายเดิมมากในช่วงกลางยุค 80 โดย Leo Nijmann
ในประเทศเนเธอแลนด์โดยดัดแปลงจากรถเต่าเม็กซิกัน ฝากระโปรงหลังทำมาจากพลาสติค
ที่ทันสมัยแต่ก็ผลิตได้ไม่มากนัก จนปี 1994 Veedub Australia ในรัฐวิคตอเรียได้ดัดแปลง
เลียนแบบขั้นมาโดยใช้รถเต่ารุ่นปี 54-76
ที่มา: Joachim Kuch. Volkswagen Model Documentation. Robert Bentley Publishers. 1999.
http://www.youtube.com/watch?v=iQkZhMEzGwk Hebmuller "The history"
http://www.youtube.com/watch?v=czU3ZsDPUlA VW Hessisch Oldendorf 3
http://www.youtube.com/watch?v=i2QDTjdXgcU Barn Find
http://www.youtube.com/watch?v=J_glPRSeId8
http://www.youtube.com/watch?v=k9xvdYm1Y4Y
http://www.classicvws.com/heb.htm บูรณะ
http://www.youtube.com/watch?v=vZGEtrgFpgI Ratlook Hebmuller
http://www.youtube.com/watch?v=i2QDTjdXgcU
1950 Hebmuller Cabriolet For Sale (ผลิตคันที่ 595) 120,000 $
1949 Hebmuller number...323 ถูกนำเข้าไปในอเมริกาเมื่อปี 1993
เพื่อเป็นหนึ่งในรถสะสมของคอโฟล์คท่านหนึ่ง Hebmuller ถูกผลิตในช่วงปี 1948-1953
มีจำนวนทั้งสิ้น 741 คัน แต่มีการลงทะเบียนในปัจจุบันเพียง 70 คันเท่านั้นในรุ่นปี 1949
และมีจำนวน 129 คันในทุกรุ่นปี รถที่ลงทะเบียนเหล่านั้นก็มิใช่ทุกคันที่
จะมีการระบุถึงเลขตัวถังได้แบบรถคันนี้
$225,000 http://www.oldbug.com/1949hebcab.htm