Dr. Heinz Nordhoff (6 มกราคม 1899 – 12 เมษายน 1968)
นิตยสารยานยนต์เรียกเขาว่า “พนักงานขายจากโรงงานโฟล์ค”
ขณะที่สื่อมวลชนขนานนามเขาว่า “นายโฟล์คสวาเก๊นท์” วิศวกรจากเมือง Hildesheim
อยู่ใกล้กับเมือง Hanover ผู้มิเคยออกแบบหรือประกอบรถเองแม้แต่จุดเดียว
แต่หากขาดเขาแล้วคอโฟล์คทั่วโลกก็จะไม่มีวันได้สัมผัสรถเต่าแบบเช่นทุก วันนี้
มหัศจรรย์แห่ง Wolfsburg ความคิดที่จะผลิตรถโฟล์คให้เป็นรถสำหรับมวลชนนั้น
มีมานานแล้วแต่ขาดการสนับ สนุน โดยในยุค 30 นั้นนักปกครองผู้คลั่งชาติเยอรมัน
ได้นำเสนอโครงการ “รถแห่งมวลชน” Dr. Ferdinand Porsche เป็นผู้ออกแบบให้
โดยประกาศราคาจำหน่ายไว้ที่ 999 มาร์ค เพื่อชวนเชื่อให้ประขาชนนิยมยินดี
ในปี 1940 ช่วงต้นยุค 40 ได้สร้างเมืองเพื่อผลิตรถโฟล์คขึ้น ขณะนั้นใช้ชื่อว่า
KdF (Kraft durch Freude) ที่แปลว่า “ความสนุกบนความแกร่ง” ณ เมือง Wolfsburg
อยู่ใจกลางประเทศและมีปราสาทหมาป่าตั้งตระหง่าน พร้อมกับวาดฝันว่าโรงงานแห่งนี้
จะสร้างงานให้กับคนเยอรมันได้ถึง 50,000 ตำแหน่ง
ปราสาท Wolfsburg
เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองยุติลงพร้อมกับความพ่ายแพ้ของเยอรมันในวันที่ 12 เมษายน 1945
กองทัพสหรัฐภายใต้การนำของ Colonel Kennedy บุกเข้าทำลายเมือง KdF โรงานผลิตรถถูก
ทำลายไปบางส่วนเพื่อยุติการผลิตรถที่เยอรมันนำไปใช้เป็นยุทธ ปัจจัยในการทำสงคราม จากนั้น
กองทัพอังกฤษที่ได้รับมอบหมายตามสนธิสัญญา Yalta ให้เข้ามาฟื้นฟูเยอรมันในเขตตอนเหนือใน
เดือนพฤษภาคม 1945 พร้อมกับการเข้าทำหน้าที่ของ Major Ivan Hirst ในเดือนสิงหาคมเพื่อร่วม
กันผลิตรถ 40,000 คัน ให้เร็วที่สุด รถเหล่านี้จะนำไปใช้ในกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ได้รับชนะ
ในสงคราม ครึ่งหนึ่งของเป้าหมายทั้งหมดอยู่ในความรับผิดชอบของอังกฤษ ซึ่งโดยหลักการแล้ว
โรงงานฟอร์ดในเมือง Cologne สามารถผลิตได้ แต่ในทางปฏิบัติกลับทำไม่ได้ เนื่องจากบริษัทผลิต
ชิ้นส่วนให้กับฟอร์ดอยู่ในเมือง Berlin ที่มีสหภาพโซเวียตเป็นผู้เข้ามาดูแล จึงเหลือเพียงเมือง KdF
เท่านั้นที่มีศักยภาพในการผลิต ที่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Wolfsburg Motor Work ถึงแม้จะเสียหายไป
มาก แต่ก็ยังเหลือชิ้นส่วนตัวถังที่ปั้มขึ้นรูปไว้แล้วที่ยังปลอดภัย
สายการผลิตกลับมาเปิดอีกครั้งด้วยเครื่องจักรเพียง 45 ตัว มีเครื่องปั๊มขึ้นรูปแค่ 23 ตัว
เมื่อเปรียบเทียบกับโรงงาน Opel ใน Brandenburg ที่เปิดสายการผลิตในปี 1936
ที่มีพื้นที่เพียง 25% ของเมือง KdF ที่เคยทันสมัยที่สุดในยุคก่อนสงคราม ยังมีเครื่องจักรกล
มากถึง 1,200 ตัว ปล่อยรถ Opel Kardett ออกจากสายการผลิต 2 นาที/คัน
แต่สำหรับ Wolfsburg แล้วกลับเป็นเรื่องยากเย็นเข็ญใจเพราะพื้นที่ 860,000 ตารางฟุต
คิดเป็น 60% ของโรงงานถูกทำลายเมื่อคราวโดนถล่มในเดือนเมษายน 1943
เป็นการดับฝันกองทัพเยอรมันที่หวังจะผลิตรถ KdF 500,000 คัน
ให้คนเยอรมันในปี 1946 มีรถเต่าเพียง 630 คัน กับ Kubelwagen และ Schwimmwagens
65,000 คัน ที่ถูกผลิตทั้งๆ ที่มีพื้นที่โรงงานขนาดใหญ่เท่ากับ 40 สนามฟุตบอล
นั่นเป็นเพราะกองทัพเยอรมันให้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินรบกับอาวุธรุ่นใหม่ที่ โรงงงานแห่งนี้
KuebelwagenSchwimmwagenเมือง KdF
ในปี 1945 ที่สงครามยุติลงมีรถเต่าถูกผลิตจริงๆ เพียง 917 คัน ในเดือนมีนาคม ปี 1946
เพิ่มเป็น 1,000 คัน แต่เป้าหมายของฝ่ายสัมพันธมิตรคือ 4,000 คัน/เดือน
มียอดจองรออยู่ถึง 20,000 คัน และเมื่อถึงคราวที่ต้องคืนโรงงานให้กับเยอรมันตะวันตก
กลับไปดูแล คณะปกครองอังกฤษเริ่มมองหาผู้ที่เหมาะสมมาบริหารโรงงาน Wolfsburg
แต่ถ้าบุคคลผู้นั้นบริหารงานไม่ได้เรื่อง Ivan Hirst จะกระโดดเข้ามานั่งเก้าอี้นี้
ซึ่งผู้ท้าชิงตำแหน่งนี้ก็คือ Nordhoff ผู้มีประสบการณ์ดูแลการผลิตรถกระบะจำนวนมหาศาล
ให้กับ Opel ดำรงตำแหน่งผู้จัดการโรงงานที่ Brandenburg ในปี 1942
แต่ภายหลังอยู่ในเขตการดูแลของคณะปกครองโซเวียต Nordhoff จึงมาทำงาน
เป็นที่ปรึกษาฝ่ายเครื่องกลและบริการของอู่ Hamburg การกลับมาเป็นผู้บริหาร
ของ Opel แห่ง General Motors จึงเป็นไปไม่ได้เพราะคนอเมริกันไม่ยอมเด็ดขาด
ส่วนพื้นเป็นของ Kuebelwagen (Type 82) รถเต่าคันที่ 1,000
Nordhoff เกิดในปี 1899 เป็นบุตรชายของนายธนาคารพาณิชย์ใน Hildesheim
จบการศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคใน Brunswick ในตอนแรกเขาถูกวางตัว
ให้เป็นผู้จัดการฝ่ายผลิตของ Wolfsburg มี Ivan Hirst เป็นผู้บังคับบัญชา
แต่หลังจากที่ได้สัมภาษณ์ทำให้ Hirst เกิดความประทับใจจนเสนอตำแหน่ง
ประธานบริหารให้ ทีแรก Nordhoff ยังลังเลแต่เมื่อรู้แน่ว่าจะกลับไปทำงานบริหาร Opel
ไม่ได้อีกแล้วจึงยอมรับตำแหน่งนี้แต่มีเงื่อนไขว่า “ต้องมีเอกภาพในการบริหาร
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารอยู่ในความดูแลและรับผิดชอบของเขาแต่เพียง
ผู้เดียวเท่านั้น Nordhoff เผยความรู้สึกหลังจากรับตำแหน่งมาแล้ว 10 ปี
ว่าเขาไม่ต้องการตกอยู่ใต้อิทธิพลของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ต้องการทำสัญญาใดๆ
และไม่มีความรู้ใดๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับรถเต่าหรือโรงงานที่ผลิต รู้แค่เพียงว่า
จะต้องผลิตรถให้ได้ 6,000 คัน/ปี ด้วยคนงาน 700 คน พร้อมกับโรงงาน
ที่หลังคารั่วหน้าต่างแตกกระจาย
"ผลิตรถมหาชนให้มีคุณภาพคับแก้ว" คือปณิธานของ Norhoff
ด้วยเหตุผลที่ Nordhoff เป็นคนนอกและไม่ได้รักหรือคุ้นเคยเป็นรถเต่ามาก่อน
เขาจึงวิจารณ์รถเต่าอย่าง ไม่ไว้หน้า เขาเรียกรถเต่าเล่นๆ ว่า“ไอ้เปี๊ยก ไอ้ของถูก”
“มีแต่ตำหนิแบบหมามีเห็บเต็มตัว”คำ วิจารณ์นี้น่าเจ็บปวดที่สุดแต่ก็เป็นความจริง
เพราะในปี 1946-47 โรงงานในขณะนั้นขาดอะไหล่จำนวนมากแม้แต่กระจกหน้าต่าง
ก็ใช้กระจกบ้านที่แตก ได้เมื่อเจออากาศร้อนจัด ขาดเหล็กผลิตชิ้นส่วนตัวถัง
ขาดชิ้นส่วนคาร์บูเรเตอร์ รถเต่ารุ่นแรกจึงเป็นรถที่ขับแล้วหาความสบายไม่ได้เลย
แถมเสียงดังน่ารำคาญ และด้อยการผลิต นี่คือลักษณะพิเศษที่ Nordhoff มองว่า
“เป็นความมหัศจรรย์ และนี่คือโอกาสอันดีที่จะปฏิวัติรถโฟล์คให้เป็นรถที่ขับสบาย
ไปในทุกที่” นี่คือมุมมองของผู้บริหารคนใหม่ของโฟล์คผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยปฏิภาณไหวพริบ
ที่ถูกหล่อหลอมมาจากบริษัทรถอเมริกัน โดยมีมือขวาที่ดีเยี่ยมอย่าง Rudolf Ringel
เป็นหัวหน้าคณะวิจัยพัฒนารถเต่าเปิดประทุน 2 และ 4 ที่นั่ง และ Plattenwagen
ภายใต้การดูแลของคณะปกครองอังกฤษ
หลังจากที่ Nordhoff เข้าบริหารงานมานั้นรถเต่าเป็นรถที่ได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ
มากกว่าผู้ ผลิตรถยนต์รายอื่นๆ ในปี 1953 รถเต่าถูกปรับปรุงข้อบกพร่องไปถึง 400 รายการ
เมื่อเทียบกับรถที่ผลิตช่วงก่อนสงคราม และปรับปรุงเพิ่มขึ้นเป็น 2,064 รายการในปี 1962
จนทำให้ Nordhoff ได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์
สะท้อนแนวคิดในการพัฒนารถของ Nordhoff ได้จากคำปราศรัยกับพนักงานโฟล์คว่า
“ปีนี้เป็นปีประวัติศาสตร์ เป็นปีแรกที่เรายืนอยู่บนขาของตัวเองได้ เราใช้เวลา 700 ชั่วโมง
ต่อการผลิตรถเต่า 1 คัน หากเรายังรักษามาตรฐานนี้และพัฒนาต่อไปเราจะไม่ต้องทำงาน