Introduction to BUS (ตู้รุ่นไหนเป็นยังไง?)
ประวัติการกำเนิดของตู้โดยย่อ...
ตู้ หรือ van ได้เริ่มขึ้นเมื่อ ... ตัวแทนจำหน่ายโฟล์คคนหนึ่งชื่อ Ben Pon ซึ่งเป็นชาวดัชต์ (ชาวเนเธอร์แลนด์) ได้เห็นรถขนย้ายของในโรงงาน Wolfsburg ก็ได้เกิดความคิดว่า Volkswagen น่าจะมีรถที่สามารถขนย้ายสิ่งของต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ก่อสร้าง เครื่องมือเครื่องใช้ ผลิตผลทางการเกษตร ออกมาขาย เนื่องจากในขณะนั้นก็เป็นช่วงหลังสงครามโลก พาหนะที่ไว้ขนถ่ายของเหล่านี้มีความจำเป็นมากในการสร้างประเทศ
ในปี 1947 Ben Pon ได้พบกับนายพล Ivan Hirst ที่ Minden ครั้งนี้ Ben Pon ได้นำ sketch ภาพของรถตู้ให้ดู แต่ว่า พันเอก Radclyffe (วิศวะกรผู้ดูแลด้านการผลิตในเขตควบคุมของอังกฤษ) ปฎิเสธการผลิตเนื่องจากทรัพยากรที่มีอยู่ เพียงพอเพื่อผลิตเต่าทองเท่านั้น แต่ทว่าในปี 1948 Heinz Nordhoff ได้นัดพบผู้อำนวยการของ VW มาพบเพื่อรื้อเอาโครงการ ตู้ มาปัดฝุ่นอีกครั้งทำให้ Ben Pon ได้นำเสนอโปรเจคตู้กับ Nordhoff และในปีนี้เอง ตู้ก็ได้เข้าสู่สายพานการผลิตเพื่อจำหน่ายของ VW
EA-7 (Entwicklungsauftrang No.7) หรือแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า Development Project No.7 เป็นโครงการผลิตรถตู้ที่ใช้ชื่อเล่นว่า TYPE29 เป็นต้นแบบ หลังจากนั้น ในวันที่ 11 มีนาคม ปี 1949 รถตู้ Prototype ได้เริ่มออกวิ่งครั้งแรก แต่ว่าเจ้า Prototype นี้ใช้แชสซีของเต่า ผลก็คือทำให้รับน้ำหนักมาก ๆ ไม่ไหว สุดท้ายก็ต้องหยุด Prototype นี้ไป ในเดือน พฤษภาคมปีเดียวกัน Prototype อีกคันก็ได้ทดลองวิ่ง โดย Prototype นี้ได้ถูกออกแบบแชสซีขึ้นมาใหม่โดย Dr.Haesner โดยแชสซีที่ใช้มีความแข็งแรงมาก ลักษณะเป็นเฟรมคู่แล้วใช้ตัวถังครอบบนแชสซีอีกครั้งหนึ่ง แต่ว่า Prototype นี้ก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่เช่น น้อตที่ยึดตัวถังกับเฟรมไม่แข็งแรง ต่อมา Prototype ที่ 2 ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา คราวนี้ใกล้ความจริงมากขึ้น เจ้า Prototype นี้ได้ถูกแก้ปัญหาจุดต่าง ๆ ได้ดีขึ้น จนวิ่งได้เป็นระยะทาง 12000 กิโลเมตร
ในวันที่ 15 สิงหาคม ปี 1949 โครงการ type2 ได้เปิดตัวครั้งแรกสู่สาธารณะชน โดยทาง VW ประกาศว่าจะมี ออกมาจำหน่ายอยู่ 4 โมเดลคือ รถตู้ทึบ รถตู้กระบะ (Single cab) รถตู้พยาบาล และรถตู้ที่ใช้สำหรับไปรษณีย์ แต่เอาเข้าจริง ๆ รถตู้คันแรกที่ออกขาย (แชสซีเลขที่ 000014) ได้ถูกขายในวันที่ 8 มีนาคม ปี 1950 ให้กับบริษัท Fleischhauer ในเมือง Colonge บริษัทนี้รู้จักกันดีในชื่อของ น้ำหอมตระกูล 4711 ในวันเดียวกันกับที่ออกแสดงในงาน Geneva Motor Show
นี่เป็นประวัติโดยย่อนะครับ ของจริงการเดินทางของตู้นั้นมีอีกเยอะ ผมแปลจากหนังสือของฝรั่งมา
ของจริงเขียนตั้ง 5 หน้า กว่าจะจบ :-(
มาเข้าเรื่องของรถตู้ต่อกัน ...Volkswagen ได้แบ่งประเภทของรถไว้ดังนี้
ตู้, bus, van, type2 หรือ bulli (ภาษาเยอรมัน) ได้แบ่ง generation ไว้ 5 แบบ (ณ ตอนนี้ 5-1-47 )
- T1 ก็คือหน้าวี หรือ split window เริ่มผลิตตั้งแต่ 1950 - 1967
- T2 ก็คือแตงโม หรือ bay window เริ่มผลิตตั้งแต่1968 - 1979
- T3 ก็คือทรานสปอร์ทเตอร์ ในอเมริกาเรียกว่า vanagon เริ่มผลิตตั้งแต่ 1980 - 1992
- T4 ก็คือคาราเวล และ T5 ก็คือโฟล์คตู้ตัวใหม่ล่าสุดที่เพิ่งออกมาไม่นานนี้
T1 ที่ฝรั่งเรียกว่า Split window เจ้าสปลิทนี้ก็แบ่งได้อีกเป็น Barn door ผลิตในปี 1950 - 1955 เอกลักษณ์ของ Barn door สังเกตุง่าย ๆ คือ ด้านหน้าจะไม่มีช่องลมเข้า และด้านหลัง ฝาห้องเครื่องจะเปิดได้สูงมาก แต่พอปี 1956 - 1967 ก็พัฒนามาเป็นหน้าวีที่เราเห็นกันบ่อย ๆ คือมีช่องลมเข้าด้านหน้า ฝาห้องเครื่องเปิดได้น้อย แต่สามารถเปิดฝาห้องโดยสารหลังได้
ด้านหน้าของ Barn door จะไม่มีช่องลม คือเรียบ ๆ ไปเลย
ฝาห้องเครื่องที่เปิดได้กว้างมาก แต่ฝาห้องโดยสารเปิดไม่ได้
ด้านหน้าของหน้าวี ที่จะมีช่องลมเข้าทางหน้า
ด้านหลังของหน้าวีจะเปิดได้ทั้งห้องโดยสาร และห้องเครื่อง
T2 ฝรั่งเรียก bay window แต่บ้านเราเรียกแบบน่ารักว่า แตงโม หรือหัวแตงโม (บางคนเรียกปังปอน์ด) เข้าใจว่าน่าจะเรียกตามช่องลมด้านหลังที่มีลักษณะคล้าย แตงโมฝ่าซีก (แต่เรียกหัวแตงโม แปลกเนอะ) รุ่นนี้ก็จะแบ่งเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ ไฟเลี้ยวล่าง ไฟท้ายแคปซูล 1968 - 1971 แบบนี้ไฟเลี้ยวด้านหน้าจะอยู่ด้านข้างช่องลมหน้า และไฟท้ายจะเป็นแบบหน้าวี คือจะเล็กและมน กันชนจะเป็นแบบโค้งมน ทีเด็ดของแตงโมในแบบนี้คือปี 71 ซึ่งเป็นปีแรกที่ได้ช่วงล่างด้านหน้าแบบ disc brake แต่ได้ตัวถังจะเป็นแบบเก่า แบบต่อมาคือ ไฟเลี้ยวล่าง ไฟท้ายยาว มีอยู่ปีเดียวคือ 1972 ปีนี้เป็นปีที่กำลังจะกลายเป็นแตงโมรุ่นใหม่ แต่ผสมความเก่าไว้ครึ่งหนึ่ง ใหม่อีกครึ่ง สังเกตุได้ง่ายว่าด้านหน้า ไฟเลี้ยวจะอยู่ด้านล่าง ไฟท้ายจะยาว และกันชนยังเป็นแบบโค้งมนอยู่ ห้องเครื่องจะแปลกตากว่ารุ่นก่อน คือมีสันเพิ่มขึ้นมา (จริง ๆ ฝาห้องเครื่องจะเล็กและยาวกว่าด้วย) เพื่อเตรียมรองรับเครื่อง type4 ที่จะมาลงในปีต่อไป ... แบบสุดท้าย คือไฟเลี้ยวบน กันชนเหลี่ยม 1973 - 1979 สังเกตุง่าย ๆ ไฟเลี้ยวด้านหน้า จะอยู่ข้างช่องลม ไฟท้ายด้านหลังจะเป็นแบบยาว กันชนจะเป็นแบบเหลี่ยม ห้องเครื่องแบบมีสัน และเครื่อง type4
ด้านหน้าของ 68 - 71 ไฟเลี้ยวจะอยู่ด้านล่าง กันชนโค้งมน
โลโก้ด้านหน้าขนาดใหญ่
ด้านหลังของ 68 - 71 ไฟท้ายจะเป็นแบบหน้าวี คือไฟแค็ปซูล
กันชนโค้งมน ฝาปิดห้องเครื่องใหญ่
ปี 72 ด้านหน้าจะเหมือนปี 68 - 71 ทุกอย่าง (ในรูปโลโก้หาย)
แต่ด้านหลังไฟท้ายยาว ฝาปิดห้องเครื่องเล็ก แต่กันชนยังโค้งมน
ปี 73 - 79 ไฟเลี้ยวย้ายมาอยู่ด้านบน กันชนเหลี่ยม โลโก้เล็ก
ด้านหลังไฟท้ายยาว ฝาปิดห้องเครื่องเล็ก และกันชนเหลี่ยม
T3 บ้านเราเรียก transportor แต่ฝรั่งเรียกว่า vanagon (ไม่เคยเห็นที่ไหนเรียกว่าเวดจ์อย่างหนังสือบางเล่มที่แปลมาผิด ๆ) แบ่งได้เป็น เครื่อระบายความร้อนด้วยงอากาศ 1980 - 1982 ** ไม่แน่ใจในปีครับ อ่านมาแค่ตำราเดียว** และเครื่องระบายความร้อนด้วยน้ำ ซึ่งแบบระบายความร้อนด้วยน้ำ จะมี 2 แบบอีกคือแบบไฟหน้ากลม และแบบไ ฟหน้าเหลี่ยม เข้าใจว่าไฟเหลี่ยมจะมีตอนปี 1987 - 1992
T4 และ T5 ที่เรียกว่า caravell รุ่นนี้ผมมีความรู้น้อยมากครับ เพียงแต่สังเกตุว่า ตั้งแต่ T1 - T3 จะใช้ชื่อว่า transportor มาโดยตลอด แต่พอมา T4 กลับเปลี่ยนเป็น caravell อันนี้ผมเข้าใจเองว่าเนื่องจาก T1-3 วางเครื่องไว้ด้านหลัง แต่พอมา T4-5 วางเครื่องไว้ด้านหน้า เจ้า caravell คงจะหมายถึงตู้ที่วางเครื่องไว้ด้านหน้าด้วยกระมัง อันนี้คาดเดาเอานะครับ :-)